payroll #set2

BUSINESS PLUS HRM สําหรับธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร

BUSINESS PLUS HRM ระบบเงินเดือนสำเร็จรูปสําหรับธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร เป็นระบบการคำนวณเงินเดือน ที่ใช้งานง่ายถูกต้องแม่นยำ มีความยืดหยุ่นสูง รองรับค่าแรงและเงินพิเศษเฉพาะธุรกิจเช่น Service Charge , Day Off และ Extra Day เป็นต้น ช่วยคำนวณเวลาทำงาน เพื่อช่วยลดระยะเวลาการคำนวณเงินเดือนได้อย่างรวดเร็ว และช่วยการคำนวณ ขาด ลา มาสายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น ยังมีรายงานช่วยควบคุม และวิเคราะห์ พร้อมฟอร์มเอกสารส่งหน่วยงานต่างๆ ได้ครบถ้วน

BUSINESS PLUS HRM ระบบโปรแกรมเงินเดือน สำหรับธุรกิจร้านอาหาร

        จากประสบการณ์การพบ HR ในร้านอาหารที่มีชื่อเสียงต่างๆ สรุปได้ว่า ธุรกิจร้านอาหารจะมีลักษณะการบริการที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะมีการแบ่งหน่วยงานออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนงานสำนักงาน และส่วนงานบริการ โดยมีรายละเอียดดังนี้        ธุรกิจร้านอาหาร ถือว่าเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ดี และน่าสนใจสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่และบุคคลทั่วไปที่มีฝีมือและมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และต้องการมีกิจการเป็นของตนเอง การเปิดกิจการร้านอาหาร – เครื่องดื่ม ในปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น สำหรับการบริหารธุรกิจร้านอาหาร สิ่งสำคัญที่นอกเหนือจากรสชาติของอาหาร คือ คุณภาพการบริการและความใส่ใจในการบริการของบุคลากรก็เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนากิจการ บริษัท อี–บิซิเนส พลัส จำกัด เป็นบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้านบัญชีและบริหารงานบุคคล มานานกว่า 34 ปี ด้วยความเชี่ยวชาญและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า Business Plus ระบบของเราจะช่วยให้การทำงานด้านนี้ มีความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมกับประมวลผลให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อช่วยให้มีข้อมูลที่แม่นยำไว้สำหรับประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านบุคคลากร เช่น การคำนวณต้นทุนค่าแรง สำหรับนำไปเปรียบเทียบกับผลประกอบการในแต่ละเดือนที่เกิดขึ้นหรือการสรุปขาดลา มาสาย ประจำปีของพนักงาน เพื่อให้สำหรับนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในการให้ผลตอบแทนกับพนักงานประจำปี เป็นต้น ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยจะเห็นได้ว่าบุคลากรภายในองค์กรมีส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้กิจการเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพัฒนาควบคู่กันกับการพัฒนาในด้านอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ภายในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานด้านการบริหารงานบุคคลกันมากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานแล้ว ยังช่วยให้การทำงานภายในองค์กรมีประสิทธิภาพและลดระยะเวลาการทำงานให้น้อยลง เพื่อจะได้มีเวลาไปพัฒนาในส่วนอื่นๆ ได้เพิ่มมากขึ้นโดยระบบที่จะนำมาช่วยงานในด้านของการงานบริหารงานบุคคลได้ดีนั้น จะต้องเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ส่วนงานสำนักงาน → จะรับผิดชอบงานด้านสำนักงาน เช่น แผนกบุคคล, แผนกบัญชี เป็นต้น ซึ่งพนักงานในส่วนของสำนักงานจะมีลักษณะการทำงานเหมือนกับกิจการประเภททั่วไป
2. ส่วนงานบริการ → จะรับผิดชอบงานด้านการให้บริการแก่ลูกค้า เช่น แผนกแคชเชียร์, แผนกบริการ, แผนกต้อนรับลูกค้าและแผนกห้องครัว เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทำงานของพนักงานในส่วนงานบริการ จะมีความแตกต่างจากกิจการประเภทอื่นๆ โดยพบว่า รูปแบบการเข้า-ออก วันหยุดงานมีความพิเศษแตกต่างจากกิจการทั่วไป เช่น
 ตัวอย่างลักษณะการทำงานเป็นกะ เช่น
            ► กะทำงานที่มีเวลาเข้างานและออกงานแน่นอน โดย ช่วงเวลาทำงานปกติแบ่งเป็น 2 ช่วงต่อวันไม่ต่อเนื่องกัน และเมื่อรวมชั่วโมงการทำงานปกติของทั้ง 2 ช่วงแล้ว จะเท่ากับพนักงานที่ทำงานต่อเนื่องเป็นช่วงเดียวต่อวัน เช่น ช่วงแรก เริ่มงาน 10.00 น. – 14.30 น. และช่วงที่สอง เริ่มงาน 17.30 น. – 22.00 น. เป็นต้น
            ► กะที่ไม่มีเวลาเข้างานและออกงานแน่นอน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องทำงานรวมกับพักระหว่างงานให้ครบตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนด
            ► กรณีที่กิจการร้านอาหารมีหลายสาขา ซึ่งทางสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้คำนวณเงินเดือน ดังนั้นในแต่ละสาขาจะส่งข้อมูลเวลาทำงานของพนักงานเข้ามาทางสำนักงานใหญ่เพื่อทำการคำนวณหักขาด ลา มาสาย และค่าล่วงเวลาให้พนักงาน
            ► การหักมาสายของพนักงาน กรณีที่พนักงานมาทำงานสายกิจการจะไม่หักเงินพนักงานแต่จะเก็บสถิติจำนวนที่มาสายไว้ เพื่อนำไปหักจำนวนค่าล่วงเวลาในวันที่พนักงานมาสาย
            ► การจ่ายค่าล่วงเวลาของพนักงานจะจ่ายค่าล่วงเวลาหลังเลิกงานตามจำนวนชั่วโมงที่พนักงานทำค่าล่วงเวลาในวันนั้นให้กับพนักงาน แต่กรณีที่พนักงานมาสายจะนำจำนวนที่มาสายไปหักกับค่าล่วงเวลาที่พนักงานทำในวันนั้น เช่น พนักงานได้รับค่าล่วงเวลา 3 ชม. แต่ในวันเดียวกันมาสาย 1 ชม. ดังนั้น จำนวนชั่วโมงค่าล่วงเวลาจะเหลือ 2 ชม. เป็นต้น
            ► พนักงานที่ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ของตนเอง กิจการจะนับวันทำงานและเช็คสถิติขาดลามาสายของพนักงานเหมือนวันทำงาน ปกติแต่จะให้สิทธิพนักงานสามารถนำวันที่มาทำงานหยุดในวันหยุดประจำสัปดาห์ไปขอลาหยุดในวันทำงานปกติของตนเองได้
            ► พนักงานที่ทำงานในวันหยุดประเพณี กิจการจะนับวันทำงานและเช็คสถิติขาดลาสายของพนักงาน>เหมือนวันทำงานปกติ แต่จะให้สิทธิพนักงานสามารถนำวันที่มาทำงานในวันหยุดประเพณีไปขอลาในวันทำงานปกติของตนเองได้
            ► พนักงานแต่ละคนจะมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่ตรงกัน เช่น พนักงานบางคนมีวันหยุดประจำสัปดาห์คือ วันอาทิตย์ หรือพนักงานบางคนมีวันหยุดประจำสัปดาห์ คือ วันจันทร์ เป็นต้น
            ► พนักงานแต่ละคนมีวันหยุดประจำสัปดาห์ที่ไม่แน่นอน คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ของพนักงานแต่ละคนเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ เช่น บางสัปดาห์วันหยุดประจำสัปดาห์เป็นวันจันทร์, บางสัปดาห์วันหยุดประจำสัปดาห์เป็นวันอังคาร เป็นต้น
            ► พนักงานในส่วนของงานบริการจะได้รับเงินพิเศษ คือ ค่าทิป (Service Charge) โดยร้านอาหารจะนำเงินที่ลูกค้าจ่ายเป็นค่า Tips ให้พนักงานบริการทุกคนทั้งเดือนมารวมกัน แล้วเฉลี่ยจ่ายให้พนักงานบริการทุกคนเท่าๆ กัน แต่ถ้าพนักงานคนใดเริ่มงานหรือลาออก ระหว่างงวด, ขาดงาน หรือลางาน กิจการก็จะจ่ายค่า Service Charge โดยคำนวณจากค่า Service Charge ต่อคนหารด้วย 30 วันและคูณด้วยจำนวนวันทำงานที่หักขาดงานหรือลางานแล้ว

 

~คุณสมบัติเด่นของโปรแกรมเงินเดือนที่สามารถนำมาใช้กับธุรกิจร้านอาหาร~
⇒ 1. โปรแกรมสามารถรองรับการสร้างผังองค์กรได้หลากหลาย โดยจะรองรับกับแผนกหรือแผนกย่อยในแต่ละสาขาได้
⇒ 2. โปรแกรมสามารถกำหนดระดับพนักงานและกำหนดลักษณะการทำงานของพนักงานที่สังกัดฝ่ายสำนักงาน และ พนักงานสังกัดฝ่ายบริการได้อย่างชัดเจน
⇒ 3. โปรแกรมสามารถรองรับตั้งค่าลักษณะการทำงานของพนักงานฝ่ายสำนักงานและฝ่ายบริการที่มีเวลาเข้าออกงานแน่นอน และสามารถคำนวณหักขาดงาน มาสายกลับก่อน และสามารถคำนวณค่าล่วงเวลาให้พนักงานได้
⇒ 4. โปรแกรมสามารถรองรับการตั้งค่าลักษณะการทำงานของพนักงานบริการที่มีลักษณะการทำงานของกลุ่มที่แบ่งการทำงานเป็น 2 ช่วง (Split Shift ) โดยสามารถกำหนดกะการทำงานให้ครอบคลุมการคำนวณได้รวดเร็วและง่ายในการประกาศกะ
⇒ 5. โปรแกรมสามารถรองรับการตั้งค่าลักษณะการทำงานของพนักงานบริการที่มีลักษณะการทำงานที่มีเวลาเข้างาน – ออกงานไม่แน่นอนได้ โดยจะรองรับ การทำงานทั้งกะเช้า และ กะบ่าย ซึ่งสามารถตั้งค่าในกะการทำงานเพื่อให้โปรแกรมคำนวณได้ตรงกับที่ต้องการ และง่ายในการประกาศกะ
 ⇒ 6. โปรแกรมรองรับการนำข้อมูลเวลาการทำงานจากสาขาต่างๆ เข้ามาคำนวณที่สำนักงานใหญ่ได้ โดยสามารถจัดส่งได้ 2 รูปแบบ คือ
♦ สาขามีเครื่องสแกนนิ้วมือ ทางผู้จัดการร้านแต่ละสาขาสามารถส่ง Text File เวลาทำงานของพนักงานเข้ามาให้สำนักงานใหญ่ เพื่อดึงเวลาเข้ามาคำนวณในโปรแกรมเงินเดือน
♦ สาขาไม่มีเครื่องสแกนนิ้วมือ ทางผู้จัดการร้านแต่ละสาขาสามารถ ส่งข้อมูลเวลาทำงานในรูปแบบของ Excel เพื่อนำเวลาเข้ามาคำนวณในโปรแกรมได้
⇒ 7. โปรแกรมสามารถรองรับการตั้งค่าของประเภทเงินเพิ่มเงินหักได้ ทั้งในกรณีที่ต้องการคำนวณหักเงินพนักงานในงวดทันที หรือต้องการที่จะเก็บสถิติไว้พิจารณาอีกครั้ง
 ⇒ 8. สามารถตั้งค่าให้โปรแกรมนำจำนวนวันที่พนักงานมาทำงานใน วันหยุดประจำสัปดาห์ไปขอลาหยุดในวันทำงานปกติของตนเองได้ โดยตามธุรกิจร้านอาหาร จะเรียกว่า “DayOff”
 ⇒ 9. สามารถตั้งค่าให้โปรแกรมนำจำนวนวันที่พนักงานมาทำงานในวันหยุดประเพณีไปขอลาหยุดงานในวันทำงานปกติของตนเองได้ โดยตามธุรกิจร้านอาหาร จะเรียกว่า“ExtraDay”
⇒ 10. โปรแกรมมีวิธีการประกาศกะที่รองรับกับการกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ของพนักงานแต่ละกลุ่มที่มีวันหยุดไม่ตรงกันได้ โดยจะเป็นวิธีที่ง่ายและเพิ่มความสะดวกในการประกาศกะการทำงานให้เร็วมากขึ้น
⇒ 11. รองรับกรณีที่มีพนักงานมีการเปลี่ยนกะ, เปลี่ยนวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือ เปลี่ยนวันหยุดประจำปีโดยสามารถสร้างคำสั่งในการเปลี่ยนกะการทำงาน หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้พนักงานได้ ซึ่งเมื่อถึงวันที่ที่กำหนดไว้ โปรแกรมจะเปลี่ยนกะการทำงานให้อัตโนมัติ
⇒ 12. สามารถกำหนดสูตรการคำนวณเงินค่า Service Charge, ค่าอาหาร หรือ เงินได้อื่นๆ ที่ตรงกับเงื่อนไขของธุรกิจร้านอาหารได้
⇒ 13. สามารถตั้งค่าให้รายงานแสดงจำนวนวันที่พนักงานมาทำงานในวันหยุดประจำปี จำนวนที่พนักงานนำสิทธิการทำงานในวันหยุดประจำปี มาขอชดเชยการลาหยุดงานในวันทำงานปกติและจำนวนวันที่พนักงานมาทำงานในวันหยุดประจำปีคงเหลือ
⇒ 14. สามารถตั้งค่าในรายงานให้สามารถตรวจสอบยอดยกมาของสิทธิจำนวนวันคงเหลือที่พนักงานมาทำงานในหยุดประจำปีของปีก่อนและแสดงข้อมูลจำนวนวันคงเหลือในปีก่อน เพื่อนำมารวมคำนวณกับจำนวนวันหยุดประจำปีในปีปัจจุบันได้
⇒ 15. สามารถตั้งค่าให้โปรแกรมรองรับในส่วนของการคำนวณหักเงินกู้ยืมในแต่ละเดือนให้อัตโนมัติ ซึ่งเมื่อพนักงานชำระเงินกู้ครบจำนวนแล้วระบบจะหยุดหักเงินให้อัตโนมัติโดยผู้ใช้งานไม่ต้องเกรงว่าจะลืมหักเงินกู้ยืมพนักงานหรือหักเงินพนักงานเกิน

~การตรวจสอบข้อมูลของผู้บริหาร~

        เมื่อโปรแกรมเงินเดือนทำการคำนวณเงินเดือนในแต่ละเดือนเรียบร้อยแล้ว การตรวจสอบข้อมูลที่ง่ายและสะดวก ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทางผู้ใช้งานต้องการ เพื่อจัดส่งข้อมูลพนักงานในแต่ละเดือนให้กับทางผู้บริหารทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ในโปรแกรมได้ ซึ่งโปรแกรม เงินเดือน Business Plus HRM มีรายงานสรุปข้อมูลที่สามารถตรวจสอบรายละเอียดการคำนวณในแต่ละเดือนได้ โดยสามารถตรวจสอบได้ ดังนี้

            ► สามารถเรียกรายงานตรวจสอบพฤติกรรมการมาทำงานของพนักงานได้ โดยตรวจสอบจากจำนวนวันขาดงาน มาสาย กลับก่อน และค่าล่วงเวลาของพนักงานแต่ละคน โดยสามารถตรวจสอบเฉพาะงวดเงินเดือนที่ต้องการหรือตรวจสอบข้อมูลได้ทั้งปี
            ► สามารถตรวจสอบต้นทุนเงินเดือน ค่าล่วงเวลาต่างๆ โดยตรวจสอบข้อมูลแบ่งตามต้นทุนการลงบัญชีสาขาและตามแผนกได้ เพื่อให้ผู้บริหารทราบต้นทุนเงินเดือนพนักงานในแต่ละเดือนและสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์หรือวางแผนในระยะยาวได้